วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตามรอยพระพุทธเจ้า(๒)

           นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า                พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
       ขอนำท่าน...เริ่มต้นสู่เสันทางแสวงบุญ ตามรอยบาทพระศาสดา ซึ่งสถานที่สำคัญที่สุดภายใน
หัวใจอันเปี่ยมศรัทธา ของชาวพุทธทั่วโลก คือสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง หรือ ๔ ตำบล   อันได้แก่  
                 ๑.สถานที่ประสูติ อยู่ที่ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล
                 ๒.สถานที่ตรัสรู้ อยู่ที่พุทธคยา กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย
                 ๓.สถานที่แสดงปฐมเทศนา อยู่ที่สารนาถ กรุงพาราณสี ประเทศอินเดีย
                 ๔.สถานที่ปรินิพพาน อยู่ที่กุสินารา กรุงกุสินารา ประเทศอินเดีย
        คณะแสวงบุญเริ่มออกเดินทางออกจากเมืองปัตนะแต่เช้า ข้ามสะพานมหาตมะคานธี ที่ยาวที่สุด
ถึง ๖ ก.ม.ซึ่งทอดข้ามแม่น้ำคงคา แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดีย ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญ ยาวเป็นอันดับ ๒ ของอินเดีย มีความยาว ๒,๕๑๐ ก.ม.ช่วงที่ข้ามแม่น้ำมองไปทั้งสองฝั่งเห็นผืนน้ำกว้างใหญ่ท่วมเอ่อสูงตลอดลำน้ำ คงจะสืบเนื่องมาจากน้ำท่วมใหญ่ทางอินเดียตอนเหนือบริเวณต้นแม่น้ำคงคา เมื่ออาทิตย์ก่อนก็เป็นได้ จึงเห็นน้ำเิ่จิ่งนองมากมายไปทั่วบริเวณริมฝั่ง
        ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงก็ถึงเมืองไพสาลีหรือ เวสาลี ( Vaishali) ซึ่งในสมัยพุทธกาล 
มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองหลวงของเจ้าลิจฉวี แห่งแคว้นวัชชี เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง
และเป็นที่มั่นสำคัญของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น โดยพระพุทธเจ้าได้เสด็จเมืองเวสาลีครั้งแรก 
หลังจากออกพรรษาที่๒ เพราะเกิดภัยพิบัติ ๓อย่างพร้อมกัน คือทุพภิกขภัย อมนุสสภัยและอหิวา
ตภัย หลังจากนั้นก็ได้เสด็จมาอีกหลายครั้ง ในช่วงหลังพุทธกาล เมืองไพสาลีได้ตกเป็นของแคว้น
มคธโดยการนำของพระเจ้าอชาตศัตรูพระราชาแห่งเมืองราชคฤห์และหลังการล่มสลายของราชวงศ์
พิมพิสาร พระราชาองค์ต่อมาจึงได้ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธมายังเมืองเวสาลี ทำให้เมืองนี้
เจริญถึงขีดสุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองนี้ได้เป็นสถานที่ทำทุติยสังคายนาของพระพุทธศาสนา 
ก่อนที่จะเสื่อมความสำคัญและถูกทิ้งร้างลงเมื่อมีการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมือง
ปาฏลีบุตรหรือเมืองปัตนะอันเป็นเมืองหลวงของรัฐพิหารในปัจจุบัน 
  สถานที่แรกที่ไปเยี่ยมชมคือ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน สถานที่ประทับส่วนใหญ่ของพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จมาที่เวสาลี พระสูตรหลายพระสูตรเกิดขึ้นที่เมืองนี้ และเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงประทานอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี พร้อมกับบริวารเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ เป็นครั้งแรกในโลก 
                        พระสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช
              เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช  ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด เพียงแห่งเดียวในประเทศอินเดีย
                       หัวเสาเป็นรูปสิงห์ นั่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองกุสินารา
       หลังจากถ่ายรูปเป็นที่ระลึกแล้ว ก็ขึ้นรถออกเดินทางไปสถานที่แห่งที่ ๒ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก  คือปาวาลเจดีย์ สถานที่ปลงพระชนมายุสังขาร ในพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า 
  
ป้ายข้อมูลของปาวาลเจดีย์ สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับส่วนแบ่งจากกรุงกุสินารา 
                                ทางเดินสู่ปาวาลเจดีย์ ซึ่งทำเป็นหลังคาครอบไว้เพื่อกันแดดกันฝน
                       ปาวาลเจดีย์ สถานที่ปลงพระชนมายุสังขาร ของพระพุทธเจ้าในพรรษาที่ ๔๕
ปาวาลเจดีย์
ทำประทักษิณ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ ปาวาลเจดีย์
              สระโบกขรณีมงคล ที่ใช้ในราชพิธีมุรธาภิเษก ของกษัตริย์ลิจฉวี อยู่อีกฝั่งถนนบริเวณ
ด้านหน้าของปาวาลเจดีย์

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตามรอยพระพุทธเจ้า(๑)

ขอนอบน้อมบูชาด้วยเศียรเกล้า แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น  ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขอตามรอยบาทพระศาสดา สู่แดนพุทธภูมิ อันศักดิ์สิทธิ์ ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล โดยการนำของแก้วพิมลทัวร์ ผู้เปรียบเสมือนเป็นสะพานบุญ นำคณะญาติธรรม พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญและมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา สู่ดินแดนชมพูทวีป หรือแดนภารตะ ฮั๊ดช่า!ประเทศอินเดีย ที่เรารู้จักกันดีครับ
นมัสเต... ขอทักทายสวัสดีแบบอินเดีย กันก่อนนะครับ เพราะเป็นคำทักทายที่ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาเลย ทั้งผู้หญิงผู้ชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ใช้ได้ไม่มีการจำกัด โดยเฉพาะสาวแขกคนนี้สวัสดีได้สวยจริงๆครับ
แผนที่แสดงเส้นทางการเดินทางไปแสวงบุญในครั้งนี้ครับ โดยขึ้นเครื่องบินสายการบินเจ็ท ของอินเดียจากสนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เวลาบินประมาณ ๓ ช.ม.ไปลงที่เมืองกัลกัตต้า แล้วต่อเครื่องภายในประเทศบินอีกชั่วโมงเศษ.ไปลงที่เมืองปัตนะ จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เส้นทางธรรมยาตราเพื่อนมัสการสังเวชนียสถานโดยเริ่มจากเมืองไวสาลี-กุสินารา-ลุมพินี-สาวัตถี-พาราณสี-พุทธคยา-ราชคฤห์-นาลันทา-ปัตนะ แล้วขึ้นเครื่องภายในมาต่อเครื่องอินเตอร์กลับสุวรรณภูมิ ที่เมืองกัลกัตต้า ตามเส้นสีขาวเลยครับ

เอกสารแผ่นพับเล็กๆที่มีคุณค่า ซึ่งได้รับจากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ได้บอกเรื่องราวอันเป็นมรดกของพระพุทธเจ้า ไว้อย่างชัดเจนว่าทำไมต้องไปนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลถึงประเทศอินเดีย

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ไปเที่ยวเกาหลี กับ KPT 888

     ห่างหายไปเสียนาน...คิดถึงกันบ้างหรือเปล่าน๊า!
     เพราะ...ชีวิตคือการเดินทาง...
     และ  ความสุข..คือการได้เก็บเกี่ยวสิ่งที่ดีงามรอบตัว เมื่อได้เดินทางไปในโลกกว้าง...
     วันนี้...เรามาเจอกันอีกครั้ง จึงอยากแบ่งปันเรื่องราวดีๆที่ได้ไปพบ ได้ไปสัมผัสโดยการนำของ
"แก้วพิมลทัวร์" บริษัททัวร์คุณภาพมาตรฐาน บริการประทับใจ ที่มอบความสุขให้กับทุกคน
ณ ดินแดนแห่งความสงบยามเช้า  ประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงเริ่มฤดูใบไม้ผลิ..ที่จะแสนโรแมนติค...
ภาพประกอบนี้เป็นรูปภาพเก่าหลายสิบปีแล้ว แต่มองครั้งใด...ให้อารมณ์สงบเบิกบาน บ่งบอกความรู้สึกว่าเป็นดั่งเช่นคำนิยามนั้นจริงๆ ขอเชิญท่านปล่อยอารมณ์สบายๆ ค่อยๆตามผมมานะครับ


        อรุณสวัสดิ์เกาหลี สวัสดีตอนเช้า"อันยองฮาเซโย" ตามภาษาเกาหลีนะครับ
        "เกาหลี" ที่ได้ไปท่องเที่ยวครั้งนี้ คือเกาหลีใต้ มีชื่อเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐเกาหลี ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี มีพื้นที่ 100,212 ตร.กม. และมีประชากร 48.58 ล้านคน( ปีค.ศ. 2010 )
       เมื่อพูดถึงเกาหลี คนไทยส่วนใหญ่ มักจะนึกถึงเพลงอารีดัง ที่ไพเราะในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อน
บ้างก็นึกถึง "อาหารเกาหลี" เช่น"หมูย่างเกาหลี" และ"กิมจิ" ผักดองที่เป็นเครื่องเคียงในทุกมื้ออาหารของคนเกาหลี รสชาดเกาหลีที่แสนอร่อยหรือที่ชัดเจนที่สุดก็คงหนีไม่พ้นซีรี่ส์ละครเกาหลีที่ชวนให้หลงใหลติดตามได้ทุกเพศทุกวัย และที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับการไปท่องเที่ยวเกาหลี คือการได้ตามรอยไปยังสถานที่สำคัญของละครเรื่องดังหลายต่อหลายเรื่อง อาทิ แดจังกึม ,อิลจิแม,ซอนต็อก,เพลงรักในสายลมหนาว,ฟูลเฮ้าส์ ฯลฯ
 " โซล( 서울 Seoul ) คือชื่อเมืองหลวงของเกาหลีใต้ ในปัจจุบันนี้ ที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ปี 1986 , กีฬาโอลิมปิคฤดูร้อน ปี 1988 และฟุตบอลโลก ในปี 2002 ที่เป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่นอีกด้วย

           ภาพนี้ถ่ายจากยอดเขานัมซาน ที่มีหอคอย N'Seoul ตั้งอยู่ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่ง

              ถ่ายจากย่านกลางเมือง มองเห็นทำเนียบประธานาธิบดี(บลูเฮ้าส์)อยู่ไกลๆ มีภูเขาเป็นฉากหลังซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีมากตามตำราฮวงจุ้ย ว่าไปโน่น!
                ภาพนี้ถ่ายจากบริเวณคลองซองเกซอน ที่อดีตเคยเป็นคลองน้ำเน่าและแหล่งเสื่อมโทรม แต่   ปัจจุบันเป็นคลองที่มีน้ำใสสะอาดและภูมิทัศน์ที่สวยงามน่าพักผ่อนหย่อนใจ เอาภาพเก่ามาเทียบให้ดูด้วยว่าแตกต่างกันขนาดไหน
                 
          ข้อมูลทั่วไปของประเทศเกาหลีบางส่วน ก็มีดังภาพด้านล่างที่อยู่ในหนังสือคู่มือท่องเที่ยว ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติเกาหลี ที่พิมพ์เป็นเล่มสวยงามและมอบให้แบบฟรีๆกับนักท่องเที่ยวที่จะไปเยือนเกาหลี ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานกรุงเทพฯ ตึกเอสพลานาด  รัชดา ชั้นล่างโทร.02-3542082

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันตรุษจีน วันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน


    ตรุษจีน (จีนตัวเต็ม: 春節; จีนตัวย่อ: ; พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน เพราะว่าชาวจีนถือเอา วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับวันสงกรานต์คือวันปีใหม่ของคนไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มาก มีการเฉลิมฉลองกันทั่วโลก 
    ตรุษจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า"เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ"เพราะเป็นการย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง วันตรุษจีนเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันที่ครอบครัวชาวจีนมารวมญาติกันเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน:Chúxī) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"
จุดกำเนิดของ วันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าเป็นประเพณีที่มีมานานนับพันๆปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองการขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ในฤดูใบไม้ผลิ จนต่อมา วันตรุษจีนจึงกลายเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน ในหลายประเทศและดินแดนที่มีประชากรจีนอาศัยอยู่ อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ไทย รวมทั้งชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี ภูฎาน และเวียตนาม
ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก โดยผู้คนจะเริ่มซื้อของขวัญ ข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และทำความสะอาดครั้งใหญ่ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีออกไป ด้วยหวังให้โชคดีเข้ามาภายในบ้าน มีการประดับประดาทั้งประตู และหน้าต่าง ด้วยกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้โชคดี อายุยืนยาว มั่งคั่งร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ
ในคืนก่อนวันตรุษจีน อาหารค่ำจะเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว ซึ่งเป็นอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายเป็นมงคลทั้งสิ้น เช่น หมู หมายถึง ความมั่งคั่ง กินดีอยู่ดี ไก่ หมายถึง ความขยันขันแข็ง เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็ด หมายถึง ความสะอาด สิ่งบริสุทธิ์ ปลา หมายถึง ความสมบูรณ์ เหลือกินเหลือใช้  กุ้ง หมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข ฯลฯ
เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและพูดสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา หรือ “แต๊ะเอีย” ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของ วันตรุษจีน โดยการให้อั่งเปานี้ พ่อแม่หรือผู้ใหญ่จะให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง จากนั้นทุกคน ในครอบครัว จะออกจากบ้านเพื่อทักทายสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติมิตร และเพื่อนบ้าน หรือไปเที่ยวทำบุญกัน
ประเพณีตรุษจีนนั้น ถือเป็นการสมานฉันท์สามัคคี ลืมความบาดหมาง และการส่งความปรารถนาดี พร้อมความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

พระคาถาธารณปริตร : ป้องกันภัยพิบัติต่างๆ


พระคาถาธารณปริตร

         น้อมรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระเมตตาธิคุณ  พระมหากรุณาธิคุณ  แห่งสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ โดยกล่าวคำนอบน้อมนมัสการ คือ

         นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

        ๑.พุทธานัง ชิวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง ตถา เม โหตุ
           อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง อนาคตัง เส พุทธัสสะ 
           ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง ปัจจุปันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต 
           อัปปฏิหะตะญาณัง
        ๒.อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
           สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง 
           สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง 
           สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณะปุพพัง คะมัง ญาณานุปริวัตตัง
        ๓.อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
           นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ นัตถิ ธัมมะเทสนายะ หานิ นัตถิ วิริยัสสะ หานิ 
           นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ 
           นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ นัตถิ วิมุตติยา หานิ
        ๔.อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต 
           นัตถิ ทะวา นัตถิ ระวา นัตถิ อัปผุฏฏัง นัตถิ เวคายิตัตตัง     
           นัตถิ พะยาวะฏะมะโน นัตถิ อัปปฏิสังขารุเปกขา
        ๕.อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต 
           นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง 
           นัตถิ ตะถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง 
           นัตถิ ตะถาคะตัสสะ มโนทุจริตตัง 
           นัตถิ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง 
           นัตถิ อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง 
           นัตถิ ปัจจุปันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง
           นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
           นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
           นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
           อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง สังสาระ 
           ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง
        ๖.อิมัง อานันทะ ธาระณะปริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปริปุจฉาหิ
           ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเกนะ ลัคเคยยะ อัคคีนะ ทะเหยยะ 
           นานาภะยะวิโก นะ เอกาหาระโกนะ ทะวิหาระโก นะ ติหาระโก นะ จะตุหาระโก 
           นะ อุมมัตตะกัง นะ มุฬะหะกัง มนุสเสสิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา
        ๗.ตัง ธาระณัง ปริตตัง ยถา กะตะเม ชาโล มหาชาโล ชาลิตเต มหาชาลิตเต 
           ปุคเค มหาปุคเค สัมปัตเต มหาสัมปัตเต ภูตัง คะมะหิ ตะมัง คะลัง
        ๘.อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง สัตตัง สะเตหิ สัมมาสัมพุทธโกฏีหิ 
           ภาสิตัง วัตเต อะวัตเต คันธะเว อะคันธะเว โนเม อะโนเม เสเว อะเสเว 
           กาเย อะกาเย ธาระเณ อะธาระเณอิลลิ มิลลิ ติลลิ มิลลิ โยรุกเข 
           มหาโยรุกเข ภูตัง คะมะหิ ตะมัง คะลัง
        ๙.อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะ วุฒิยา สัมมาสัมพุทธโกฏีหิ 
           ภาสิตัง ทิฏฐิลา ทัณทิลา มันติลา โรคิลา ชะระลา ทุพพิลา 
           เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ไหว้พระที่พม่า กับมหาโค้ก ภาค ๓

        "มิงกะลาบา" เจอกันอีกแล้วครับ ในการไปไหว้พระที่พม่า กับมหาโค้ก ภาคที่๓ สำหรับเรื่องราวในภาคนี้คงจะจบได้อย่างสมบูรณ์ เพราะครบไตรภาคพอดี ไม่ต้องเยิ่นเย้อให้เสียเวลาการไปเที่ยวและไหว้พระ ติดตามต่อได้เลยครับ

         "พระสมปรารถนา" ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจดีย์กลางน้ำหรือเยเลพญา ในภาษาพม่า ว่ากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรมอญรุ่งเรืองเลยทีเดียว อยู่ที่เมืองสิเรียม


          "เยเลพญา"เป็นชื่อของเจดีย์ที่สร้างอยู่บนเกาะเล็กๆกลางแม่น้ำ สมัยที่อาณาจักรมอญยังครอบครองเมืองสิเรียมเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว เป็นความมหัศจรรย์ของศาสนสถานแห่งนี้ที่ไม่มีวันเต็มล้นไม่ว่าจะมีคนไปทำบุญกันมากมายสักเพียงใด และเมื่อเกิดน้ำท่วมก็จะไม่ท่วมองค์เจดีย์ สมดังคำอธิษฐานของคหบดีผู้ใจบุญที่สร้างเจดีย์ด้วยแรงศรัทธาในพุทธศาสนา



           "พระธาตุอินทร์แขวน" หรือ"ไจ้ก์ทิโย" ในภาษาพม่า เป็นศาสนสถานสำคัญที่เป็นอีก 1 ใน 5 มหาบูชาสถาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวพุทธพม่าและมอญ ตามคติความเชื่อล้านนาโบราณเชื่อว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิด ของผู้ที่เกิดปีจอ องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 1,100 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล อยู่ในเขตรัฐมอญ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่สีแดง เมื่อ 10 กว่าปีก่อน



            ด้วยความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติและพลังแห่งศรัทธา ได้นำพาชาวพุทธทั้งหลายขึ้นไปกราบไหว้บูชาองค์พระธาตุที่หลายคนเชื่อว่าพระอินทร์เอาก้อนหินใหญ่รูปหัวฤาษีนี้มาแขวนเอาไว้

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ไหว้พระที่พม่า กับมหาโค้ก ภาค ๒

     "มิงกะลาบา" ขอกล่าวสวัสดีแบบพม่าอีกครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมขอพาท่านไปไหว้พระที่พม่า กับมหาโค้ก ภาคที่ ๒ กันต่อเลยนะครับ
         นี่คือพระพุทธรูปทองคำ ซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ภายในพระราชวังเมืองมัณฑเลย์ เมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ได้ถูกขนย้ายไปที่พิพิธภัณฑ์โกลกัตต้า ประเทศอินเดีย จึงทำให้รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากพม่าเป็นเอกราช ได้ขออังกฤษ นำกลับคืนมาประดิษฐานที่เจดีย์โบตะทาวน์


        เจดีย์โบตะทาวน์นี้ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำย่างกุ้ง ทางทิศใต้ของเมือง เป็นศาสนสถานสำคัญที่มีอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี เพราะเป็นที่ต้อนรับพระบรมสารีริกธาตุ 8 เส้นที่เดินทางมาทางเรือจากอินเดียโดยมีแม่ทัพนายกองตั้งแถวต้อนรับถึง 1,000 นาย จึงเป็นที่มาของชื่อเจดีย์ ที่แปลว่า แม่ทัพ 1,000 นาย

พระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า 1 เส้น ประดิษฐานอยู่ภายในองค์พระเจดีย์

           ศาลโบโบยีนัต หรือคนไทยเรียกว่า "เทพทันใจ" ด้วยคำร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่าขอพรใดๆจะสมปรารถนาในเร็ววัน จึงมีทั้งชาวพม่าและคนไทยไปไหว้ขอพรด้วยการถวายเงินและชุดบูชาที่มีกล้วยมะพร้าว ดอกไม้ ผ้าห้อยคอ ฯลฯ กันอย่างมากมาย ตั้งอยู่ริมน้ำภายในบริเวณเจดีย์

             "เทพกระซิบ" เป็นอีกที่หนึ่งที่คนไทยนิยมไปถวายสิ่งของ ทั้งขนม นม ผลไม้ และดอกไม้ พร้อมกับขอพรด้วยการกระซิบ เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน ตั้งอยู่ฝั่งถนนตรงข้าม ด้านหน้าเจดีย์

             "พระนอนตาหวาน" เป็นชื่อที่นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเรียกกัน ด้วยพุทธลักษณะที่ถูกสร้างขึ้นอย่างสวยงาม ขนตายาวงอน ขอบตาทาสีฟ้าและแต่งแต้มปากด้วยสีแดงสดใส มีความสูง 18 เมตร ยาว 66 เมตร มีอายุประมาณ 105 ปี